เสาเข็มเจาะโดยวิธีสว่านเจาะระบบแห้ง Dry Process

การก่อสร้างเสาเข็มเจาะโดยวิธีสว่านเจาะ แบ่งเป็น 2 ระบบ

1. ระบบแห้ง (Dry Process) ซึ่งเป็นการเจาะเนื้อดินที่ไม่มีปัญหาในการพังทลาย

2. ระบบเปียก (Wet Process) คือการใช้นํ้ายาเบนโทไนท์(Bentonite) เข้าช่วยในกรณีที่ดินมีปัญหาเช่น ดิน เป็นชั้นทราย


ในการเจาะพื้นที่แต่ละแห่งจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพดิน แม้กระทั่งงานเจาะในพื้นที่เดียวกัน อาจจะต้องใช้การเจาะทั้งระบบแห้งและระบบเปียก เพื่อการหล่อเสาเข็มที่คงทน แข็งแรงและได้มาตรฐาน

ขั้นตอนการก่อสร้างเสาเข็มเจาะโดยวิธีสว่านเจาะระบบแห้ง (Dry Process)

1. การคำ นวณหาจุดเจาะและวางปลอกเหล็ก (Spotting) 

2. การกดปลอกเหล็กกันดินพัง (Casing Installation) เมื่อนำ รถขุดเจาะเข้าตรงศูนย์มุดเข็ม ใบสว่านทำ หน้าที่เจาะนำ ส่งปลอกเหล็กกันดินพัง (Casing) ลึกอย่างน้อย 2 เมตร แล้วนำ ปลอกเหล็กซึ่งทำ เป็นท่อนๆ กดลงไปในแนวดิ่งความยาวของ ปลอกเหล็ก นั้นอาจสั้นหรือ ยาวขึ้นอยู่กับสภาพของดิน โดยปรกติแล้วปลอกเหล็กจะถูกส่งผ่านชั้นดินอ่อน ซึ่งอยู่ด้านบนจนกระทั่งถึงชั้นดินแข็งปานกลางจนถึงจุดที่สามารถป้องกันมิให้ดินพังทลายเข้ามาในรูเจาะ และป้องกันนํ้าใต้ดินไม่ให้ไหลซึมเข้าในรูเจาะ อันจะเป็นผลให้คุณภาพของคอนกรีตไม่ดีเท่าที่ควร

3. การเริ่มทำ การเจาะดิน (Anger Drilling) โดยใช้รถเจาะด้วยดอกสว่าน

4. การเจาะดินด้วยดอกสว่าน (Drilling) จนถึงความลึกที่กำ หนดไว้ในแบบ ในขณะที่ทำ การขุดเจาะ เครื่องจะทำ การควบคุมความเบี่ยงเบน
5. การทำ ความสะอาดหลุมที่เจาะ (Bottom Cleaning)
6. การติดตั้งเหล็กเสริม (Reinforcement) เหล็กเสริมของเสาเข็ม ต้องจัดให้อยู่ในรูปของโครงเหล็กหรือการมัดรวมกลุ่ม ตามมาตรฐานที่กำ หนด โดย วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (ว.ส.ท.) หรือตามการออกแบบของโครงการ เหล็กเสริมที่ผูกสำ เร็จเป็นโครงไว้แล้ว จะถูกนำ ใส่ลงไปในรูเจาะ และมีการเพิ่มลูกปูนเพื่อประครองโครงเหล็กให้ทรงตัวอยู่ในรูเจาะโดยมีระยะห่างระหว่างหลุมไม่น้อยกว่า5-7ซม.อยู่โดยรอบ
7. การเทคอนกรีตผ่านท่อทริมมี่ (Concrete Casing with Tremie Pipe) ความยาวของท่อทริมมี่จะเท่ากับความลึกของปลายเสาเข็ม เพื่อให้คอนกรีตหล่นลงหลุมโดยตรงและไม่เกิดการปะทะผนังรูเจาะซึ่งวิธีนี้จะช่วยลดการแยกตัวของคอนกรีตได้มากและข้อดีของการเทผ่านท่อทริมมี่คือทำ ให้ก้นหลุมสะอาดเพราะแรงดันจากการเทคอนกรีตจากที่สูงโดยทั่วไปเมื่อเทคอนกรีตจนได้ระดับแล้วจะต้องมีส่วนเผื่อสำ หรับสกัดเอาส่วนหัวของเสาเข็มออกประมาณ 1เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลางของเสาเข็ม         
8. ถอดปลอกเหล็กกันดินพัง (Casing Lifting) เป็นขั้นตอนสุดท้าย ของกระบวนการสร้างเสาเข็มแบบเจาะ