เสาเข็มเจาะโดยวิธีสว่านเจาะระบบเปียก Wet Process

การก่อสร้างเสาเข็มเจาะโดยวิธีสว่านเจาะ แบ่งเป็น 2 ระบบ

1. ระบบแห้ง (Dry Process) ซึ่งเป็นการเจาะเนื้อดินที่ไม่มีปัญหาในการพังทลาย

2. ระบบเปียก (Wet Process) คือการใช้นํ้ายาเบนโทไนท์(Bentonite) เข้าช่วยในกรณีที่ดินมีปัญหาเช่น ดิน เป็นชั้นทราย


ในการเจาะพื้นที่แต่ละแห่งจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนไปตามสภาพดิน แม้กระทั่งงานเจาะในพื้นที่เดียวกัน อาจจะต้องใช้การเจาะทั้งระบบแห้งและระบบเปียก เพื่อการหล่อเสาเข็มที่คงทน แข็งแรงและได้มาตรฐาน

สำหรับขั้นตอนการก่อสร้างเสาเข็มเจาะโดยวิธีสว่านเจาะระบบเปียก มีขั้นตอนวิธีการทำงานเหมือนระบบแห้ง แตกต่างตรงที่ลักษณะดิน เป็นชั้นทรายตลอดความยาวหลุมเจาะและการเก็บดินโดยกระเช้า(Bucket) ชนิดที่ มีลิ้นเปิด-ปิดที่ปลายใบสว่านการส่งปลอกเหล็กกันดินพัง

ขั้นตอนการก่อสร้างเสาเข็มเจาะโดยวิธีสว่านเจาะระบบเปียก (Wet Process)

การก่อสร้างเสาเข็มเจาะทำโดยใช้รถเจาะด้วยดอกสว่าน เจาะนำ เป็นรูลึกอย่างน้อย 2 เมตร แล้วนำปลอกเหล็กซึ่งทำเป็นท่อนๆ กดลงไปในแนวดิ่งความยาวของปลอกเหล็ก การกดนั้นอาจสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับสภาพของดิน แต่ต้องสามารถป้องกันมิให้ดินพังทลายเข้ามาในรูเจาะได้ หากพบชั้นทรายที่มีนํ้าและทรายพังทลายเข้ามา ในช่วงค่อนข้างลึกจนไม่สะดวกที่จะใช้ปลอกเหล็กป้องกันได้ ก็จะใช้นํ้าผสมสารละลายเบนโทไนต์(Bentonite) เติมลงในรูเจาะเพื่อยับยั้งมิให้นํ้าและทรายพังเข้ามา ด้วยความดันของนํ้าสารละลายที่สูงกว่า ดันผนังหลุมเจาะมิให้พัง แล้วจึงเจาะจนได้ความลึกตามต้องการ


ส่วนขั้นตอนการเทคอนกรีต จะใช้วิธีการเทคอนกรีตใต้นํ้า โดยเทผ่านท่อทริมมี่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 – 8 นิ้ว เพื่อส่งคอนกรีต ไปยังก้นหลุมเจาะเพื่อเป็นการป้องกันมิให้คอนกรีตแยกตัว (Separation) และป้องกันคอนกรีตไม่ให้ไปสัมผัสกับนํ้าโดยตรงและปลอกเหล็กชั่วคราวจะถูกถอดโดยใช้เครนดึงขึ้นหลังจากเทคอนกรีตเสร็จแล้ว